หมู่ที่ 2 วัดโขงขาว โทรศัพท์ 053 441 374
วัดโขงขาว ตั้งอยู่เลขที่ 71 วัดโขงขาว หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 5 ไร่ 1 งาน 26 ตารางวา น.ส.3 เลขที่ 849 อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ 90 เมตร จดคลองส่งน้ำชลประทาน ทิศใต้ประมาณ 95 เมตร จดที่ดินเอกชน ทิศตะวันออก ประมาณ 200 เมตร จดถนนสาธารณะ ทิศตะวันตก 200 เมตร จดที่ดินเอกชน มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 2 งาน 55 ตารางวา น.ส.3 เลขที่ 790 และ 804 อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ และกุฏิสงฆ์ ปูชนียวัตถุมี พระประธาน เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน พระพุทธรูปต่างๆ และเจดีย์
วัดโขงขาว สร้างเมื่อ พ.ศ.1999 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2525 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร วัดโขงขาวแต่เดิมวัดนี้ชื่อใดไม่ปรากฏ แต่เป็นที่รู้จักในหมู่ชาวบ้านทั่วไปกันว่า วัดโขงขาว บางครั้งคนเมืองออกเสียงว่า โข่งขาวคำว่า โขง แปลว่า ซุ้ม หรือ อุโมงค์ คำว่า โขงขาว จึงหมายถึง ซุ้มสีขาว หรืออุโมงค์สีขาว เป็นคำเรียกประสาชาวบ้านตามลักษณะของวัดที่มีซุ้มหรืออุโมงค์สีขาว เดิมพระอุโบสถเก่าของวัดโขงขามด้านหลังพระประธานจะมีช่องขนาดเท่าตัวคนลอดลงไปสู่ถ้ำเล็กๆ ได้ ปากทางเข้าคล้ายๆทางเข้าอุโมงค์เมื่อก่อนนั้นเป็นสีขาวๆ ภายในอุโมงค์ หรือ ถ้ำน้อยๆ หลังพระประธาน นั้น ท่านเจ้าอาวาสพระครูปิยรัตน์(หลวงพ่อบุญรัตน์ กันตจาโร) ได้บูรณะพระอุโบสถสร้างพระสถูป หรือ เจดีย์สีทองงดงามครอบไว้เหมือนเดิม หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เคยเล่าว่า พระเจ้ารามราชแห่งอาณาจักรสุโขทัย เคยธุดงค์มาและพำนักบำเพ็ญธรรมอยู่ ณ วัดโขงขาวนี้ในช่วงสุดท้ายของท่าน ตอนนั้นท่านออกบวชถือศิลปะปฏิบัติธรรมธุดงควัตร นุ่งขาวห่มขาว ละเรืองราวทางโลก และเป็นผู้ทรงอภิญญาสมบัติ ปัจจุบัน ปี วัดโขงขาวพัฒนาเจริญรุ่งเรืองไปมากจากเดิมมีพื้นที่ 2 ไร่เศษ ได้ขยายเพิ่มเป็น 14,463 ตารางวา พร้อมกับอาคารสิ่งก่อสร้างอีกมากมาย เช่น พระเจดีย์ กุฏิพักสงฆ์ หอฉัน ศาลาพระราชพรหมยาน ศาลารายรอบพระอุโบสถ กำแพงวัดก่อสร้างด้วยศิลาแลง พร้อมตกแต่งสถานที่วัดให้สะอาดร่มรื่น สิงห์ ที่นั่งชูคอสง่างามที่ซุ้มประตูกว้าเข้าสู่วัดหันหน้าไปยังเทือกเขาถนนธงชัยที่อยู่อีกฝาก เนื่องจากอารยธรรม ตลอดจนศิลปกรรมรับอิทธิพลมาจากพม่าได้แผ่ขยายเข้ามาหลังจากล้านนาได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจพม่ารูป นรสิงห์ ซึ่งพม่าเรียกว่า มนุษย์สิงห์ พอผ่านซุ้มประตูสิงห์เข้าสู่ลานกว้างของวัด มีวิหาร วิหารพระราชพรมยานไพศาลภาวนานุสิฐเยาลักษณ์มิตรศรัทธา ทางทิศใต้ของวัด วิหารร่วมสมัยที่มีคติการสร้างไว้อย่างแยบยลที่ให้เราได้ค้นหาคติธรรมที่แฝงอยู่ในนั้น วิหารสีทองอร่ามตกแต่งด้วยปูนปั้นและกระจกสีลวดลายวิจิตรตระการตา ที่ยามต้องแสงส่งประกายระยับระยับ หลังคาทรงจั่วซ้อน 3 ชั้น นาค หน้าประตูเข้าวิหารนาควัดโขงขาวตัวสีทองมี 5 หัว ลำตัวถูกมกรกลืนกิน หรือมองดูอีกที่จะเป็นมกรคายนาคออกจากปากออกมาก็ว่าได้ ในสมัยพระพุทธกาล มีพญานาคตนหนึ่งนั่งฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วได้เกิดศรัทธา จึงได้แปลงกายเป็นมนุษย์ขอบวชเป็นพระภิกษุ แต่อยู่มาวันหนึ่งเข้านอนในตอนกลางวัน หลังจากหลับแล้วมนต์ได้เสื่อมกลายเป็นงูใหญ่ ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงทราบจึงให้พระภิกษุนาคนั้นสึกออกไป เพราะเป็นสัตว์เดรัจฉาน นาคตนนั้นผิดหวังมาก จึงขอถวายคำว่า นาค ไว้ใช้เรียกผู้ที่เข้ามาขอบวชในพระพุทธศาสนา จนเห็นนาคเป็นสัญญาลักษณ์อยู่ทั่วไปในพระพุทธศาสนา สามเณร…ค่อยๆเปิดประตูบานใหญ่ออกมีความสูง 2 เท่าของคนเรา ลงรักปิดทองรูปเทวดาที่บานประตูซ้าย-ขวา แสงสว่างจากภายนอกเผยให้เห็นความสวยงามภายในวิหาร พระประธานปางมารวิชัยทรงเครื่องทรง มีลักษณะทางพุทธศิลป์อันงดงาม ด้านหลังพระประธานเป็น ภาพเขียนพระธาตุประจำราศีต่างๆทั้ง 12 ราศี ล่องลอยเหนือพระประธานเหมือนๆอยู่บนชั้นฟ้าดาวดึงส์ และทางซ้าย-ขวา มีรูปปั้นรูปเหมือนของ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง ก้าวออกจากภายในวิหาร เดินต่อยังลานโพธิ์ ปูด้วยอิฐที่ชุ่มไปด้วยน้ำฝนมีพืชชั้นต่ำมอสส์สีเขียวๆ ต้นจิ๋วๆ แทรกขึ้นร่อยต่อระหว่างอิฐเหมือนกับผืนพรมธรรมชาติ ที่ลานต้นโพธิ์ มีตู้หนังสือธรรมะหลายๆ เล่มเรียงวางไว้ ให้ผู้มาเยี่ยมเยือนวัดได้หยิบอ่าน ศาลลาจัตุรมุข ที่มีลักษณะเป็นศาลาที่มีมุขยื่นออกมาทั้ง 4 ด้าน ส่วนกลางศาลาทรงจั่ว 2 ชั้น ทางด้านหลังมี เจดีย์ปิดด้วยทองจังโก ทางด้านทิศตะวันขึ้นเป็นที่พักพระภิกษุสามเณร หลบความวุ่นวายสับสน ไปค้นหาความวิเวกเงียบสบง บังก่อเกิด สมาธิ แห่ง ปัญญาที่ได้มาเที่ยววัด
การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ 1 พระนันทะ นนฺทโก รูปที่ 2 พระพรหม พรหฺมปญฺโญ รูปที่ 3 พระโพธา โพธิโก รูปที่ 4 พระขีณา วิลาโส รูปที่ 5 พระตาคำ โสภโณ รูปที่ 6 พระอธิการอินตา ปยธมฺโม พ.ศ.2481 – 2509 รูปที่ 7 พระอธิการบุญรัตน์ กนฺตจาโร ตั้งแต่ พ.ศ.2516 เป็นต้นมา