วัดชัยวุฒิ

หมู่ที่ 1 วัดชัยวุฒิ โทรศัพท์ 053 430 608

วัดชัยวุฒิ ตั้งอยู่เลขที่ 102 บ้านไร่ใต้ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 83 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือจดทางเดินสาธารณะ ทิศใต้จดทางเดินสาธารณะ ทิศตะวันออกจดโรงเรียน ทิศตะวันตกจดทางเดินสาธารณะ อาคารเสนาเสนาะประกอบด้วย กฏิสงฆ์ และศาลาบำเพ็ญบุญ ปูชนียวัตถุมี พระพุทธรูปต่างๆ


วัดชัยวุฒิ สร้างเมื่อ พ.ศ.2205 ตามประวัติวัดแจ้งว่า สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.2420 ชาวบ้านเรียกว่า วัดไร่ใต้ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2532 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร มีหลวงพ่อเปิ่นเป็นผู้มาสร้างวัด ซึ่งเป็นพระที่มีเสียงสร้างทรงจูงใจและความศรัทธาให้ชาวบ้าน ศาสนสถานที่น่าสนใจภายในวัด คือ พระวิหารเป็นวิหารปิด ที่มีการสร้างผนังด้านข้างทั้งสี่ด้าน มีหน้าต่าง และช่องแสงโดยรอบทุกด้าน บริเวณผนังภายในเขียนด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนัง หรือฉลุลายปิดทองบริเวณผนังด้านหลังของพระประธาน ตัวอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีการยกเก็จของผัง ภายในวิหารแบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ พื้นที่ของพระสงฆ์ พื้นที่ของฆราวาส และฐานชุกชี หรือแท่นแก้ว พื้นที่ด้านในสุดของวิหาร ใช้สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งเป็นประธานของวัด ลักษณะโครงสร้างของอาคาร เป็นการผสมผสานระหว่าง โครงสร้างก่ออิฐฉาบปูน กับ โครงสร้างไม้ ส่วนเครื่องบนหรือหลังคา สร้างด้วยโครงสร้างไม้ในระบบเสาและคาน หลังคาเป็นทรงจั่วมีการซ้อนชั้นของหลังคาด้านหน้าสามชั้น ด้านหลังสองชั้น สัมพันธ์กับการยกเก็จของผัง หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาหรือแป้นเกล็ด (หลังคาแผ่นไม้) เขยิบมาใกล้ๆ กับพระวิหาร เป็นพระอุโบสถที่กำลังก่อสร้าง เป็นอุโบสถหลังขนาดเล็ก ที่พระสงฆ์ใช้ประชุมสังฆกรรมร่วมกัน ซึ่งการทำสังฆกรรมที่สำคัญที่สุด ได้แก่การทำสังฆกรรม บวช ในวัฒนธรรมล้านนา แบบอย่างของวิหารและโบสถ์มีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน เพียงแต่โบสถ์จะมีใบสีมา เป็นเครื่องหมายเขตบริสุทธิ์ล้อมรอบอาคารที่เป็นตัวโบสถ์อีกชั้นหนึ่ง โดยจะกำหนดบริเวณทิศทั้ง 8 และฝังไว้ตรงกลาง รวมทั้งหมด 9 แห่ง ซึ่งภายในอุโบสถ ประดิษฐาน พระพุทธรูปปางนาคปรก พระพุทธรูปลักษณะนั่งสมาธิ และมีพญานาคแผ่หัวเป็นพังพานขึ้นจากไหล่ไปปรกพระเศียรของพระพุทธรูป แต่เดิมทำเป็นรูปพญานาคเป็นมนุษย์ มีรูปงู 7 หัวเป็นพังพานขึ้นจากไหล่ไปปรกพระเศียร (ศีรษะ) ในกิริยาที่พญานาคทำท่านมัสการพระพุทธเจ้า ต่อมาภายหลังทำพญานาคเป็นรูปงูขดตัวเป็นฐานตั้งพระพุทธรูปนั่งสมาธิบนตัวพญานาค และมีพังพานและหัวของพญานาค 7 เศียรปรกอยู่


การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามคือ รูปที่ 1 ครูบาจัย รูปที่ 2 ครูบาวุฒิ รูปที่ 3 หลวงพ่อฟั่น รูปที่ 4 พระอธิการบุญชู รูปที่ 5 พระอธิการวงศ์ รูปที่ 6 พระอธิการอินปั๋น รูปที่ 7 พระอธิการดวง พ.ศ.2495 – 2507 รูปที่ 8 พระอธิการปั่น พ.ศ.2507 – 2514 รูปที่ 9 พระอธิการสมบูรณ์ พ.ศ.2518 – 2523 รูปที่ 10 พระปั๋นแก้ว กิจจฺสาโร ตั้งแต่ พ.ศ.2523 เป็นต้นมา นอกจากนี้ได้อนุเคราะห์ให้จัดสร้างโรงเรียประชาบาล สถานีอนามัยในที่ดินของวัด