หมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ และมีอดีตที่ยาวนาน อีกทั้งมีชื่อเรียกถึง 3 ชื่อ ได้แก่ บ้านป่าหมาก, บ้านดอนคา, บ้านเหมืองง่า หากสังเกตจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้วจะพบว่าตรงกลางระหว่างหมู่บ้านจะมีซากของโบราณสถาน คือมีซากเจดีย์ วิหาร โบสถ์ซึ่งแสดงถึงในอดีตบริเวณแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของวัดมาก่อน แต่ไม่มีผู้ใดทราบว่าเดิมมีชื่อว่าวัดอะไร และเหตุใดจึงเป็นวัดร้าง ต่อมาได้มีผู้อพยพมาตั้งถิ่นฐานและมากขึ้น โดยมีอาชีพทำนาและได้อาศัยน้ำฝนที่รวมตัวเป็นสายน้ำประจำหมู่บ้าน ที่เรียกว่า "น้ำแม่ท่าช้าง" มีการปลูกพืชที่ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี คือต้นหมาก ซึ่งชาวบ้านนิยมบริโภคหมากกันมาก ต่อมาจึงตั้งชื่อว่า "บ้านป่าหมาก" และจากหมู่บ้านป่าหมากไปทางทิศเหนือตามลำเหมืองประมาณ 300 เมตร มีบริเวณที่เป็นที่ดินซึ่งเป็นป่าหญ้าคา ซึ่งเหมาะแก่การพักอาศัย เพื่อดูแลข้าวกล้า และเลี้ยงสัตว์ จึงได้ร่วมกันสร้างที่พักอาศัยจำนวน 3 - 4 ครัวเรือน และมีประชากรเพิ่มขึ้น บริเวณพื้นที่แห่งนี้จึงเรียกว่า "บ้านดอนคา" นับตั้งแต่นั้นมา และเมื่อเดินลัดเลาะไปตามลำเหมืองขึ้นไปประมาณ 400 เมตรจะเป็นทางแยกบริเวณลำเมือง 2 สายที่ทอดยาวไปตามทางทิศใต้ 1 สาย ทอดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 1 สาย ชาวบ้านได้จัดเวรยามดูแลเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ทุกข์สุขและทรัพย์สินจนทำให้เกิดความผูกพันและสามัคคีกัน จนในที่สุดได้ตั้งเป็นที่อยู่อาศัยและเรียกขานชื่อบริเวณแห่งนี้ว่า "บ้านเหมืองง่า" ตามสภาพทางแยกของลำเหมือง จนทุกวันนี้
ต่อมาภายหลังเมื่อมีประกาศจากทางการจึงได้รวมหมู่บ้านทั้ง 3 หมู่บ้านเดียวกัน คือหมู่ที่ 7 เรียกว่าบ้านป่าหมาก ตำบลบ้านแหวน จนถึงปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนี้มีวัดที่ถือเป็นสถานที่สำคัญของหมู่บ้าน และมีประวัติที่มายาวนานมาก โดยให้ชื่อว่าวัดป่าหมาก
ปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนี้ได้มีรายละเอียดดังนี้
พื้นที่หมู่บ้าน - ตร.กม.
จำนวนครัวเรือน - ครัวเรือน
จำนวนประชากร - คน
อาชีพหลักของประชาชน ค้าขาย - รับจ้าง
รายได้เฉลี่ย / คน / ครัวเรือน - บาท
อาณาเขตทิศเหนือจดหมู่บ้าน บ้านดู่หมู่ 11 , บ้านต้นเฮือดหมู่ 8 ต.บ้านแหวน
ทิศใต้จดหมู่บ้าน บ้านถวาย หมู่ 2 ต.ขุนคง
ทิศตะวันออกจดหมู่บ้าน บ้านต้นเฮือด หมู่ 8 บ้านเดื่อ หมู่ 9 ต.บ้านแหวน
ทิศตะวันตกจดหมู่บ้าน บ้านช่างคำหลวง หมู่ 5 ต.บ้านแหวน
|