แต่เดิมคือบ้านช่างคำ เป็นหมู่บ้านใหญ่มีประชากรหนาแน่น อาชีพหลักคือทำนา แต่จากคำบอกเล่า ของผู้เฒ่า - ผู้แก่ และจากหลักฐานอุปกรณ์เครื่องมือในการตีทอง คือเตาหลอม อีกทั้งในปัจจุบัน ยังมีอีกหลายครอบครัวที่มีอาชีพเป็นช่างประดิษฐ์ทองคำ จะประกอบอาชีพการเป็นช่างทองรูปพรรณ หรือช่างตีทอง เช่น ทำสร้อยคอ สร้อยแขน ต่างหู เข็มขัดเงิน ดังนั้นจึงเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน ที่ใช้นามว่า "บ้านช่างคำ" ซึ่งคำภาษาล้านนาหมายถึง "ทองคำ" ในอดีตหมู่บ้านแห่งนี้มีวัดอยู่ 1 แห่ง คือวัดช่างคำซึ่งมีพระภิกษุอยู่ 2 รูป คือพระปัญญาหลวง และพระปัญญาน้อย ทั้งสองมีความสามารถ ในการปั้นตกแต่งประดิษฐกรรมต่าง ๆ เป็นอย่างมาก ในครั้งหนึ่งได้แข่งขันกันปั้นพระพุทธรูป ว่าใคร จะปั้นได้สวยกว่ากันผลการตัดสินปรากฏว่ามีความสวยพอ ๆ กันแต่พระปัญญาน้อยสร้างเสร็จในภายหลัง ทำให้พระพุทธรูปที่ปั้นโดยพระปัญญาหลวงได้ถูกอัญเชิญไปประดิษฐานในวัดช่างคำหลวง ต่อมาเมื่อ มีการปลูกบ้านขยายมากขึ้นจึงได้สร้างวัดอีก1แห่ง คือ "วัดช่างคำน้อย" ขึ้นทางทิศตะวันตก มีเจ้าอาวาส คือ พระปัญญาน้อย พร้อมกันนี้จึงตั้งหมู่บ้านขึ้นและเรียกชื่อหมู่บ้านตามวัดว่า บ้านช่างคำน้อย จนถึงปัจจุบัน
พื้นที่หมู่บ้าน - ตร.กม.
จำนวนครัวเรือน 365 ครัวเรือน
จำนวนประชากร 780 คน
อาชีพหลักของประชาชน รับจ้าง
รายได้เฉลี่ย / คน / ครัวเรือน 40,735 บาท
อาณาเขตทิศเหนือจดหมู่บ้านบ้านท้าวบุญเรือง หมู่ที่ 3
ทิศใต้จดหมู่บ้านหนองแก๋ว
ทิศตะวันออกจดหมู่บ้านบ้านช่างคำหลวงหมู่ที่ 5
ทิศตะวันตกจด เทศบาลตำบลหางดง |